เมนู

พึงทราบความ โดยเจตนาต้นและเจตนาหลัง. จริงอยู่ ในการถวายบิณฑบาต
ครั้งหนึ่ง เจตนาคราวเดียว ย่อมไม่ให้ปฏิสนธิสองครั้ง. ก็เศรษฐีนั้น บังเกิด
ในสวรรค์ 7 ครั้ง ในตระกูลเศรษฐี 7 ครั้ง ก็ด้วยเจตนาต้นและเจตนาหลัง.
บทว่า ปุราณํ ได้แก่ กรรมคือเจตนาในบิณฑบาตทานที่ถวายแก่พระปัจเจก
พุทธเจ้า.
บทว่า ปริคฺคหํ ได้แก่ สิ่งของที่หวงแหน. บทว่า อนุชีวิโน
ได้แก่ เหล่าตระกูล จำนวน 50 บ้าง 60 บ้าง อาศัยตระกูลใหญ่ตระกูลหนึ่งเลี้ยง
ชีพอยู่. ท่านหมายเอาคนเหล่านั้น จึงกล่าวคำนี้.
บทว่า สพฺพนฺนาทาย คนฺตพฺพํ ได้แก่ พาเอาทรัพย์นั้นทั้งหมด
ไปไม่ได้. บทว่า นิกฺขีปคามินํ ได้แก่ทรัพย์นั้น ทั้งหมดมีอันต้องทิ้งไว้เป็น
สภาพ อธิบายว่า มีอันจำต้องสละเป็นสภาวะทั้งนั้น.
จบอรรถกถาทุติยาปุตตกสูตรที่ 10
จบทุติยวรรคที่ 2


พระสูตรในวรรคที่ 2 นี้ คือ


1. ชฎิลสูตร 2. ปัญจราชสูตร 3. โทณปากสูตร 4. ปฐมสังคาม
วัตถุสูตร 5. ทุติยสังคามวัตถุสูตร 6. ธีตุสูตร 7. ปฐมอัปปมาทสูตร
8. ทุติยอัปปมาทสูตร 9. ปฐมาปุตตกสูตร 10. ทุติยาปุตตกสูตร
พร้อมทั้งอรรถกถา.